วันเสาร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2560

คำกริยา




😁คำกริยา
คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการของคำนาม และคำสรรพนาม หรือแสดงการกระทำของประธานในประโยค

ชนิดของคำกริยา
   ๑. สกรรมกริยา คือ คำกริยาที่ต้องมีกรรมมารับจึงจะให้ความสมบูรณ์ครบถ้วน ได้แก่ ถือ หุง ไถ ตัด ขาย กิน เห็น เป็นต้น 
    ตัวอย่างเช่น
- ฉันกินข้าว
- เขาเห็นนก

   ๒. อกรรมกริยา คือ คำกริยาที่มีความหมายครบถ้วนในตัวเองโดยไม่ต้องมีกรรมมารับก็ได้ความสมบูรณ์ ได้แก่ เดิน บิน นั่ง ยืน เป็นต้น
    ตัวอย่างเช่น
- เขานั่ง
- ฉันยืน

   ๓. วิกตรรถกริยา คือ คำกริยาที่ไม่มีความหมายในตัวเอง และใช้เป็นกริยาของประธานตามลำพังตัวเองไม่ได้ จะต้องมีคำนาม คำสรรพนามหรือคำวิเศษณ์มาขยายจึงจะได้ใจความ ได้แก่ เป็น เหมือน คล้าย เท่า คือ ดุจ ประดุจ ประหนึ่ง ราวกับ เปรียบเสมือน อุปมาเหมือน เป็นต้น
    ตัวอย่างเช่น
- ผมเป็นนักเรียน                          
- รองเท้า ๒ คู่นี้เหมือนกัน

   ๔. กริยาอนุเคราะห์ คือ คำกริยาที่ไม่มีความหมายในตัวเอง ทำหน้าที่ช่วยคำกริยาให้มีความหมายชัดเจนขึ้น ได้แก่ จง กำลัง จะ ย่อม คง ยัง ถูก นะ เถอะ เทอญ ได้ ให้ อยู่ เคย แล้ว ต้อง เกิด เป็นต้น
    ตัวอย่างเช่น
- นายแดงจะไปโรงเรียน
- เขาถูกแม่ตี



หน้าที่ของคำกริยา
   ๑. คำกริยาทำหน้าที่เป็นตัวแสดงในภาคแสดงของประโยค ตัวอย่างเช่น
   - ทหารปฏิญาณตนต่อหน้าธงไชยเฉลิมพล
   - ประชาชนทุกคนควรอนุรักษ์ธรรมชาติ

   ๒. คำกริยาทำหน้าที่ขยายนาม ตัวอย่างเช่น
   - วันนี้ไม่ใช่วันเดินทาง
   - เขาเปลี่ยนรายการอาหารเลี้ยงแขก

   ๓. คำกริยาทำหน้าที่ขยายกริยา ตัวอย่างเช่น
   - เขาเดินเล่นตอนเช้า
   - เขานั่งดูเมฆอยู่คนเดียว

   ๔. คำกริยาทำหน้าที่เหมือนคำนาม ตัวอย่างเช่น
   - ฉันชอบเดินเร็วๆ
   - พูดอย่างนี้ไม่ถูกแน่ๆ


บรรณานุกรม
          กำชัย  ทองหล่อ. (๒๕๓๗). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์.

          วิเชียร  เกษประทุม. (๒๕๕๗). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ : พ.ศ. พัฒนา.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น