วันเสาร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2560

ชนิดของคำในภาษาไทย



ชนิดของคำในภาษาไทย

ในการถ่ายทอดความคิดผ่านทางคำพูดหรือการเขียน ย่อมจำเป็นที่จะต้องนำคำชนิดต่างๆมาเรียบเรียงให้เป็นประโยค เพื่อถ่ายทอดความคิดให้ผู้อื่นได้ทราบ ซึ่งคำเเต่ละชนิดจะมีลักษณะการใช้ และหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป ถ้าเราใช้คำเเต่ละชนิดไม่ถูกต้องเเละเหมาะสม อาจจะทำให้ผู้รับสารไม่เข้าใจสิ่งที่เราต้องการสื่อสาร เเละอาจเกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย ซึ่งเราทุกคนจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ชนิดของคำในภาษาไทยให้เข้าใจ เพื่อจะสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างเข้าใจกัน

กำชัย ทองหล่อ (๒๕๓๗ : ๑๙๖-๑๙๗) ได้จำแนกคำในภาษาไทยได้ ๗ ชนิด คือ
๑. คำนาม คือ คำที่เป็นชื่อของคน สัตว์ สถานที่ สิ่งของ และกริยาอาการ เช่น พ่อ วัว บ้าน หมอน เรือน ความดี การวิ่ง เป็นต้น
๒. คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนชื่อคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เพื่อจะได้ไม่ต้องกล่าวคำนามนั้นซ้ำอีก เช่น ฉัน ท่าน เธอ แก มัน ข้าพเจ้า เป็นต้น
๓. คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการของคำนาม และคำสรรพนาม หรือแสดงการกระทำของประธานในประโยค เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน คิด เป็นต้น
๔. คำวิเศษณ์ คือ คำที่ทำหน้าที่ประกอบคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา และคำวิเศษณ์เพื่อให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ดี ชั่ว สูง ต่ำ ยาว อ้วน มาก หวาน เป็นต้น
๕. คำบุพบท คือ คำที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำหรือประโยค เพื่อให้รู้ว่าคำหรือประโยคที่อยู่หลังบุพบทนั้นมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับคำหรือประโยคที่อยู่ข้างหน้าอย่างไร เช่น ของ ใน สู่ ด้วย กับ โดย เป็นต้น
๖. คำสันธาน คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมคำกับคำ ประโยคกับประโยค ข้อความกับข้อความ หรือเชื่อมความให้สละสลวย เช่น แต่ หรือ และ เพราะ หรือ เป็นต้น
๗. คำอุทาน คือ คำที่แสดงถึงเสียงที่เปล่งออกมาในเวลาดีใจ เสียใจ ตกใจ ประหลาดใจ หรือกริ่งใจ เป็นต้น หรือเป็นคำที่ใช้ต่อถ้อยเสริมบทให้บริบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น อุ้ยอนิจจังเย้อาบน้ำอาบท่า หนังสือหนังหา เป็นต้น



บรรณานุกรม
       กำชัย  ทองหล่อ. (๒๕๓๗). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์.
       วิเชียร  เกษประทุม. (๒๕๕๗). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ : พ.ศ. พัฒนา.
       นภดล  จันทร์เพ็ญ. (๒๕๕๗). หลักการใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : เจเนซิส มิเดียคอม.
       เปรมจิต  ชนะวงศ์. (๒๕๔๓). หลักภาษาไทย. นครศรีธรรมราช : สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช.

       อุปกิตศิลปะสาร,พระยา. (มปป.). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น